dogs

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Collie Kennel



คอลลี่ (Collie) คอลลี่เป็นสุนัขพันธุ์เก่าแก่มีมานมนานแล้ว ในสมัยโบราณมนุษย์ใช้มันคุมฝูงแกะไปตลาด คอลลี่ขนสั้นนั้นได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดแห่งสุนัขต้อนปศุสัตว์เลยทีเดียว มีการบันทึกมาตรฐานสายพันธุ์คอลลี่ทั้งสองชนิดไว้ด้วย แต่เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว เจ้าคอลลี่ทั้งสองชนิดต่างถูกตราว่าเป็นสุนัขใช้งานเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีการบันทึกมาตรฐานอะไรและไม่จำเป็นต้องมีเพดดีกรีด้วย ทั้งที่จริง ๆ แล้วพวกมันเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์และดีพอที่จะถูกบันทึกไว้ใน stud book (หนังสือรวบรวมสายพันธุ์สุนัข)ได้ หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของสุนัขพันธุ์คอลลี่นั้นเป็นรูปภาพพิมพ์ไม้ปรากฏอยู่ในหนังสือชื่อTheHistoryof Quadrupeds เขียนโดย Thomas Bewick ในช่วงก่อนปีค.ศ.1800 หนังสือนี้บรรยายถึงคอลลี่ขนยาวว่า เป็นสุนัขเลี้ยงแกะ สูงแค่ 14 นิ้ว ตัวเล็ก กะโหลกกว้าง ปกติมีสีดำหรือดำ-ขาว ส่วนคอลลี่ขนสั้นนั้นเรียกกันว่า "ban dog" ตัวสูงใหญ่กว่าพวกขนยาวมาก สืบเชื้อสายมาจากพวกสุนัขตัวใหญ่แบบพวกมาสตีฟ ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นักผสมพันธุ์สุนัขเริ่มสนใจคอลลี่ ประกอบกับเริ่มมีการบันทึกเพดดีกรีกันอย่างจริงจัง สุนัขพันธุ์คอลลี่จึงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ตัวสูงขึ้นเท่านั้นแต่ยังมีลักษณะสายพันธุ์แบบบริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีลักษณะของสายพันธุ์อื่นเข้ามาเจือปนอีกด้วย ในปี 1867 คอลลี่ขนยาวชื่อ "Old Cookies" ถือกำเนิดขึ้น เจ้าตัวนี้ได้รับเครดิตว่าเป็นคอลลี่ขนยาวที่ลักษณะสวยงามโดดเด่น ทั้งยังนำชื่อเสียงและความนิยมชมชอบมาสู่สุนัขพันธุ์นี้อย่างมากมายจนนำไปสู่การพัฒนาให้มีคอลลี่สีน้ำตาลเข้มเกิดขึ้น ต่อมาไม่นานคอลลี่ก็มีหลากสีสันมากขึ้น เช่น แดง buff , mottle ในหลาย ๆ เฉด, น้ำตาลเข้ม แต่ที่มีมากคือได้แก่สีดำ สีแทนและขาว สีดำและขาว และสี tortoise shell ที่ปัจจุบันนี้เรียกกันว่าสี blue merles การบันทึกเพดดีกรีของคอลลี่ในช่วงแรก ๆ นั้นสั้นแสนสั้น หนังสือ Stud Book ของอังกฤษชุดแรกมี "หมาเลี้ยงแกะและ Scotch Collies" อยู่ 78 ตัว ลงทะเบียนกันต่างปีต่าง ค.ศ.มาเรื่อย ตัวสุดท้ายที่ลงทะเบียนใน Stud Book เล่มนี้คือเมื่อ ค.ศ.1874 ในจำนวนนี้มี 15 ตัวเท่านั้นที่มีการบันทึกเพดดีกรี แต่กระนั้นก็ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเพราะย้อนประวัติของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้เพียงสามรุ่นเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเจ้าของสุนัขภูมิใจในตัวมันมากจนไม่เห็นความจำเป็นต้องบันทึกเพดดีกรีไว้ หลังจากนั้นไม่นาน วาสนาก็มาถึงคอลลี่เพราะจากที่เคยเป็นสุนัขวิ่งไล่แกะอยู่ตามท้องทุ่ง ก็ได้มาเฉิดฉายอยู่ในพระราชวัง เนื่องจากวันหนึ่งควีนวิคตอเรียได้เสด็จมาที่บัลมอรัล ทอดพระเนตรเห็นคอลลี่น่ารักจับใจ จึงได้นำเข้าไปเลี้ยงในวัง ในปี 1886 ได้มีการแบ่งชนิดของคอลลี่เป็นพวกขนยาวและขนสั้นอย่างชัดเจน เพราะเดิมไม่มีการแบ่งทำให้มันถูกจัดให้อยู่ในชนิดเดียวกันเมื่อมีการแข่งขัน เมื่อแบ่งแล้วกลายเป็นว่าพวกนักผสมพันธุ์สุนัขชาวอังกฤษก็ไม่เห็นว่ามีความจำเป็นใด ๆ ต้องปรับปรุงรูปร่างและขนาดของคอลลี่อีกต่อไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของคอลลี่ส่วนใหญ่จึงเกิดขึ้นจากฝั่งอเมริกามากกว่า แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็ไม่ได้มากมายอะไรนัก เพียงแต่อเมริกาทำให้คอลลี่ตัวใหญ่และหนักขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น สำหรับสถานะของคอลลี่ในอเมริกานั้น เดิมก็เป็นเพียงสุนัขเลี้ยงแกะเช่นกัน แต่เมื่อปี 1877 มีการนำคอลลี่ออกแสดงในงานโชว์ในนิวยอร์คโดยWestminster Kennel Club ในคราวนั้นพวกมันถูกจัดให้อยู่ในประเภท "Shepherd Dogs, or Collie Dogs" มีคอลลี่สองสามตัวเข้าร่วมโชว์ตัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นแนะนำตัวในฐานะสุนัขมีเชื้อมีแถวในอเมริกา เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในปีถัดมา คือมีคอลลี่สองตัวถูกสั่งตรงมาจาก Queen Victoria's Royal Balmoral Kennel เพื่องานโชว์นี้โดยเฉพาะ สร้างความตื่นเต้นสนใจแก่ชาวอเมริกาผู้รักหมาอย่างมาก ในไม่ช้ามันก็กลายเป็นหมาของผู้ดีในอเมริกาไป และแน่นอนว่าหลังจากนั้นก็มี kennels สำหรับคอลลี่เกิดขึ้นมากมายในอเมริกา คอลลี่จากอังกฤษถูกนำเข้าด้วยราคาที่แพง มหาศาล ห้าสิบปีต่อมาเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยที่ญี่ปุ่น นักผสมพันธ์สุนัขชาวอเมริกันหลายคนถูกชักชวนให้ขายคอลลี่ตัวงาม ๆ ให้ชาวญี่ปุ่นด้วยราคาที่สูงลิบลิ่ว ในขณะเดียวกันความนิยมสั่งซื้อคอลลี่จากอังกฤษก็ค่อย ๆ ลดลงจนเกือบจะไม่มีการสั่งซื้อจากอังกฤษอีกเลย ปัจจุบันนี้คอลลี่เปลี่ยนสถานะจากสุนัขสำหรับฟาร์มมาเป็นสุนัขสำหรับครอบครัว เปลี่ยนความสามารถเฉพาะตัวจากการเลี้ยงแกะมาเป็นเลี้ยงเด็กได้อย่างน่าอัศจรรย์ เพราะมันมีนิสัยซื่อสัตย์จงรักภักดี มีสัญชาตญาณของการระแวดระวังและปกป้อง นอกจากนี้ยังมีบุคลิกท่วงท่าที่สง่างาม จากสถิติของ American Kennels Club ชาวอเมริกันโหวตให้คอลลี่เป็น 1 ใน 20 ยอดสุนัขในดวงใจติดต่อกันมาหลายปีแล้ว คอลลี่เป็นตัวอย่างของสุนัขที่มีการประชาสัมพันธ์ดี มีชมรมผู้เลี้ยงที่สนับสนุนดูแลสุนัขพันธุ์นี้อย่างเป็นจริงเป็นจังชื่อ Collie Club of America ตั้งขึ้นในปี 1886 (สองปีหลังจากมีการตั้ง American Kennels Club) ชมรมนี้กระตือรือร้นที่จะโฆษณาประชาสัมพันธ์ทุก ๆ ข่าวคราวของคอลลี่ มีจุดประสงค์ให้คนรู้จักและอยากเลี้ยงกันมาก ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 3,500 กว่าคน งานโชว์แต่ละปีจะมีคอลลี่ถึง 400 กว่าตัวทั่วอเมริกามาเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จสูงสุดในการสร้างชื่อเสียงให้คอลลี่เกิดจากหนังสือชุดของ Albert Payson Terhune ชื่อ Lad : A Dog คนอเมริกันรุ่นแล้วรุ่นเล่านิยมอ่านหนังสือชุดนี้ จนในที่สุดก็ได้มีการนำมาสร้างเป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ ชื่อเรื่องว่า Lassie เคยมาฉายในเมืองไทยอยู่พักหนึ่ง ทำเอาลูกเด็กเล็กแดง (รวมทั้งผู้ใหญ่หลายคน) ร่ำร้องอยากได้หมาอย่างแลสซี่กันเป็นแถว เรียกได้ว่าซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่องนี้ทำให้คอลลี่มัดใจคนทั่วโลกไว้ได้อย่างแท้จริง จนชื่อสายพันธุ์ที่ถูกต้องว่าคอลลี่ถูกเรียกแทนที่ว่าแลสซี่ไปเลย


มาตรฐานสายพันธุ์คอลลี่ ลักษณะทั่วไป คอลลี่เป็นสุนัขที่ร่าเริง แข็งแรง กระตือรืนร้นต่อสิ่งรอบข้าง เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วและยืดหยุ่นดี ไม่งุ่มง่าม ยืนตัวตรงและมั่นคง อกลึกและกว้างแสดงความแข็งแรง ไหล่ลาดเอียงและข้อเท้าที่โค้งพอดีแสดงความเร็วในการวิ่ง ใบหน้าแสดงความฉลาดเฉลียว ลำตัวส่วนหน้าและส่วนหลังสมดุลกันอวัยวะทุกส่วนได้สัดส่วนและประสานกันเป็นรูปร่างที่สวยงามลงตัว เวลาเล่นกับคนหูจะพับแต่ถ้าได้ยินหรือได้กลิ่นแปลก ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น